วันพฤหัสที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2567

สศอ.ชูนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เร่งเชื่อมโยงการค้าการลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน

On May 25, 2019

ด้วยความได้เปรียบด้านที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และความพร้อมด้านการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางทะเลสุดชายแดนทั่วทุกภูมิภาค จึงทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางอาเซียนที่มีศักยภาพอันโดดเด่น สามารถเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการที่สนใจ เข้ามาร่วมลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหาร

2

ทั้งนี้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดหนองคาย ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง และอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย โดยจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีช่องทางการค้าชายแดนที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุดระหว่างไทยกับ สปป.ลาว สามารถเชื่อมโยงกับนครหลวงเวียงจันทน์ได้ทั้งทางถนน และทางรถไฟ โดยเฉพาะโครงการพัฒนารถไฟทางคู่เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-มาบตาพุด เพื่อเพิ่มศักยภาพการคมนาคมขนส่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รองรับการค้าและการลงทุนในภูมิภาคและกับประเทศเพื่อนบ้าน

3

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดนครพนม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง และอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยมีศักยภาพเป็นช่องทางการค้าชายแดน และการค้าผ่านแดนกับสปป.ลาว เวียดนาม และมณฑลกวางสีของจีนตอนใต้ สามารถเชื่อมโยงกับเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ท่าแขก ของสปป.ลาว มีโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟ สายบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และนครพนม รองรับเส้นทางการค้าและการลงทุนในอนาคต

4

ดังนั้นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง อำเภอดอนตาล และอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งจังหวัดมุกดาหารถือว่าเป็นประตูฝั่งชายแดนตะวันออกของไทยเชื่อมต่อกับแขวงสะหวันนะเขต ของ สปป.ลาว สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่สปป.ลาว เวียดนาม และจีนตอนใต้ ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor: EWEC) เชื่อมโยงกับท่าเรือดานังของเวียดนาม ไปต่อเมืองหนานหนิงของจีนตอนใต้ สามารถเชื่อมโยงฐานการผลิตร่วมกับเขตเศรษฐกิจการค้าเมียวดี เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก เพื่อส่งสินค้าไปอินเดียและจีน รวมทั้งสามารถดำเนินกิจการในลักษณะอุตสาหกรรมการผลิตร่วมกับเขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน-เซโน ซึ่งตั้งอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ฝั่งตรงข้ามกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดมุกดาหารได้เช่นกัน

นอกจากศักยภาพด้านพื้นที่และการเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพแล้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทยภาคตะวันออก จังหวัดสระแก้ว จังหวัดตราด ยังได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทั้งทางด้านสิทธิประโยชน์และมาตรการส่งเสริมการลงทุน และการจัดตั้งศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (One Stop Services:OSS) เพื่อเป็นศูนย์ให้บริการด้านข้อมูลการค้าการลงทุน รวมทั้งประสานการดำเนินงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยอำนวยความสะดวกด้านพิธีการและข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ แก่นักลงทุนและผู้ที่สนใจ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เร่งพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญอย่างต่อเนื่องอาทิ ด่านศุลกากรและระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ เพื่อรองรับการลงทุนอีกด้วย ”

อย่างไรก็ตามโอกาสมาถึงแล้ว สามารถมาร่วมลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนไทย (Thailand Special Economic Zone) นับเป็นแผนเศรษฐกิจพิเศษที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง

 

 

 


You must be logged in to post a comment Login